วันจันทร์ที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2551

ประวัติความเป็นมาของจังหวัดสุรินทร์


ประวัติจังหวัดสุรินทร์
ความหมายของตราประจำจังหวัด
........จังหวัดสุรินทร์มีช้างมากมายมายมาแต่โบราณ และสมัยก่อนผู้คนจะไปจับช้างมาเลี้ยงเสมอๆ ดวงตราจังหวัดเลยเป็นรูปช้าง ภาพปราสาทหินเบื้องหลังแสดงถึงอิทธิพลการก่อสร้างปราสาทของขอมโบราณ



คำขวัญประจำจังหวัดสุรินทร์
สุรินทร์ ถิ่นช้างใหญ่ ผ้าไหมงาม ประคำสวย รำรวยปราสาท
ผักกาดหวาน ข้าวสารหอม งามพร้อมวัฒนธรรม


ประวัติ

สุรินทร์ เป็นจังหวัดที่มีประวัติศาสตร์อันยาวนานมากจังหวัดหนึ่ง โดยสันนิษฐานว่าดินแดนจังหวัดสุรินทร์แห่งนี้ ถูกสร้างขึ้นมาเมื่อประมาณ 2,000 ปีมาแล้ว ในสมัยที่พวกขอมมามีอำนาจเหนือพื้นที่แห่งนี้ เมื่อขอมเสื่อมอำนาจลง เมืองสุรินทร์ได้ถูกทิ้งร้างจนเกิดกลายเป็นดงขึ้นมา จนกระทั่งถึงปี พุทธศักราช 2306 จึงปรากฎหลักฐานว่า หลวงสุรินภักดี(เชียงปุม)ซึ่งเดิมเป็นหัวหน้าหมู่บ้านเมืองทีได้ขอให้เจ้าเมืองพิมายกราบบังคมทูลขอพระกรุณาโปรดเกล้า จากพระเจ้าอยู่หัวพระที่นั่งสุริยามรินทร์ย้ายหมู่บ้านจากบ้านเมืองทีมาอยู่ที่บริเวณบ้านคูประทาย ซึ่งก็คือบริเวณที่ตั้ง ของจังหวัดสุรินทร์ในปัจจุบันเนืองจากเห็นว่าบริเวณดังกล่าวเป็นชัยภูมิที่เหมาะสมอย่างยิ่งมีกำแพงล้อมรอบถึง 2 ชั้น มีน้ำอุดมสมบูรณ์เหมาะแก่การเพาะปลูกและเลี้ยงสัตว์ต่อมาหลวงสุรินทร์ภักดีได้กระทำความดีความชอบเป็นที่โปรดปราน จึงได้ทรงกรุณาโปรดเกล้าฯให้ยกบ้านคูประทายเป็น" เมืองประทายสมันต์ " และเลื่อนบรรดาศักดิ์หลวงสุรินทร์ภักดีเป็น พระยาสุรินทร์ภักดีศรีณรงค์จางวาง
ในปี พุทรศักราช 2329 พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนชื่อ " เมืองประทายสมันต์ " เป็น " เมืองสุรินทร์ " ตามบรรดาศักดิ์ของเจ้าเมือง



ที่ตั้งของจังหวัด


จังหวัดสุรินทร์ ตั้งอยู่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ของประเทศไทย ระหว่างเส้นแวงที่ 103 องศา และ 105 องศาตะวันออก และระหว่างเส้นรุ้งที่ 15 องศา และ องศาเหนือ ห่างจากกรุงเทพมหานครประมาณ 450 กิโลเมตร มีอาณาเขตติดต่อกับจังหวัดใกล้เคียง ดังนี้

.............ลักษณะภูมิประเทศ จังหวัดสุรินทร์มีเนื้อที่ประมาณ 8,124 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 5,077,535 ไร่คิดเป็นร้อยละ 4.8 ของพื้นที่ภาคตะ วันออกเฉียงเหนือทั้งหมด ลักษณะภูมิประเทศโดยทั่วไปมีลักษณะดังนี้คือบริเวณซึ่งติดต่อกับราชอาณาจักรกัมพูชา มีป่าทึบและภูเขาสลับซับซ้อน ถัดจากบริเวณภูเขา จะเป็นที่ราบสูงลุ่มๆ ดอนๆ ลักษณะลูกคลื่นลอนลาดบริเวณตอนกลาง ของจังหวัด จะเป็นที่ราบลุ่มเป็นส่วนใหญ่ มีที่ราบสูงอยู่บางตอน ด้านเหนือของจังหวัดเป็นที่ราบลุ่มแม่น้ำไหลผ่าน
จังหวัดสุรินทร์มีลำน้ำธรรมชาติที่สำคัญ 8 สายดังนี้คือ แม่นำมูล ลำน้ำชี ห้วยเสนง ลำห้วยพลับพลา ลำห้วยระวี ลำห้วยทับทัน ลำห้วยระหารและลำห้วยแก้ว เป็นลำน้ำที่ทำประโยชน์ให้แก่จังหวัดสุรินทร์ นอกจาก 8 แห่งนี้แล้ว ยังมีลำน้ำและหนองนำอีกมากมายกระจัดกระจายอยู่ในอำเภอต่างๆแต่แหล่งน้ำต่างๆดังกล่าวไม่สามารถอำนวยประโยชน์ให้แก่เกษตรกรได้มากนัก ในฤดูแล้งส่วนใหญ่น้ำจะแห้ง เว้นแต่ลำน้ำมูลซึ่งมีน้ำไหลตลอดปี
จังหวัดสุรินทร์ มีพื้นที่ที่ได้รับการประกาศเป็นเขตป่าจำนวน 1,382,625 ไร่หรือคิดเป็นร้อยละ 27.23 ของพื้นที่จังหวัดไม่มีอุทยานแห่งชาติมีวนอุทยานจำนวน 2 แห่ง คือวนอุทยานพนมสวาย อำเภอเมืองสุรินทร์ เนื้อที่ 2,500 ไร่ และวนอุทยานป่าสนหนองคู อำเภอสังขะ เนื้อที่ 625 ไร่และมีเขตรักษาพันธ์สัตว์ป่า 1 แห่งคือเขตรักษาพันธ์สัตว์ป่าห้วยสำราญ - ห้วยทับทัน อยู่ในพื้นที่กิ่งอำเภอพนมดงรัก, อำเภอกาบเชิง, อำเภอสังขะ และอำเภอบัวเชด เนื้อที่ 313,750 ไร่

ไม่มีความคิดเห็น: