วันจันทร์ที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2551

ยินดีต้อนรับ





เข้าสู่ MICKEY MOUSE








ประวัติความเป็นมาของจังหวัดสุรินทร์


ประวัติจังหวัดสุรินทร์
ความหมายของตราประจำจังหวัด
........จังหวัดสุรินทร์มีช้างมากมายมายมาแต่โบราณ และสมัยก่อนผู้คนจะไปจับช้างมาเลี้ยงเสมอๆ ดวงตราจังหวัดเลยเป็นรูปช้าง ภาพปราสาทหินเบื้องหลังแสดงถึงอิทธิพลการก่อสร้างปราสาทของขอมโบราณ



คำขวัญประจำจังหวัดสุรินทร์
สุรินทร์ ถิ่นช้างใหญ่ ผ้าไหมงาม ประคำสวย รำรวยปราสาท
ผักกาดหวาน ข้าวสารหอม งามพร้อมวัฒนธรรม


ประวัติ

สุรินทร์ เป็นจังหวัดที่มีประวัติศาสตร์อันยาวนานมากจังหวัดหนึ่ง โดยสันนิษฐานว่าดินแดนจังหวัดสุรินทร์แห่งนี้ ถูกสร้างขึ้นมาเมื่อประมาณ 2,000 ปีมาแล้ว ในสมัยที่พวกขอมมามีอำนาจเหนือพื้นที่แห่งนี้ เมื่อขอมเสื่อมอำนาจลง เมืองสุรินทร์ได้ถูกทิ้งร้างจนเกิดกลายเป็นดงขึ้นมา จนกระทั่งถึงปี พุทธศักราช 2306 จึงปรากฎหลักฐานว่า หลวงสุรินภักดี(เชียงปุม)ซึ่งเดิมเป็นหัวหน้าหมู่บ้านเมืองทีได้ขอให้เจ้าเมืองพิมายกราบบังคมทูลขอพระกรุณาโปรดเกล้า จากพระเจ้าอยู่หัวพระที่นั่งสุริยามรินทร์ย้ายหมู่บ้านจากบ้านเมืองทีมาอยู่ที่บริเวณบ้านคูประทาย ซึ่งก็คือบริเวณที่ตั้ง ของจังหวัดสุรินทร์ในปัจจุบันเนืองจากเห็นว่าบริเวณดังกล่าวเป็นชัยภูมิที่เหมาะสมอย่างยิ่งมีกำแพงล้อมรอบถึง 2 ชั้น มีน้ำอุดมสมบูรณ์เหมาะแก่การเพาะปลูกและเลี้ยงสัตว์ต่อมาหลวงสุรินทร์ภักดีได้กระทำความดีความชอบเป็นที่โปรดปราน จึงได้ทรงกรุณาโปรดเกล้าฯให้ยกบ้านคูประทายเป็น" เมืองประทายสมันต์ " และเลื่อนบรรดาศักดิ์หลวงสุรินทร์ภักดีเป็น พระยาสุรินทร์ภักดีศรีณรงค์จางวาง
ในปี พุทรศักราช 2329 พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนชื่อ " เมืองประทายสมันต์ " เป็น " เมืองสุรินทร์ " ตามบรรดาศักดิ์ของเจ้าเมือง



ที่ตั้งของจังหวัด


จังหวัดสุรินทร์ ตั้งอยู่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ของประเทศไทย ระหว่างเส้นแวงที่ 103 องศา และ 105 องศาตะวันออก และระหว่างเส้นรุ้งที่ 15 องศา และ องศาเหนือ ห่างจากกรุงเทพมหานครประมาณ 450 กิโลเมตร มีอาณาเขตติดต่อกับจังหวัดใกล้เคียง ดังนี้

.............ลักษณะภูมิประเทศ จังหวัดสุรินทร์มีเนื้อที่ประมาณ 8,124 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 5,077,535 ไร่คิดเป็นร้อยละ 4.8 ของพื้นที่ภาคตะ วันออกเฉียงเหนือทั้งหมด ลักษณะภูมิประเทศโดยทั่วไปมีลักษณะดังนี้คือบริเวณซึ่งติดต่อกับราชอาณาจักรกัมพูชา มีป่าทึบและภูเขาสลับซับซ้อน ถัดจากบริเวณภูเขา จะเป็นที่ราบสูงลุ่มๆ ดอนๆ ลักษณะลูกคลื่นลอนลาดบริเวณตอนกลาง ของจังหวัด จะเป็นที่ราบลุ่มเป็นส่วนใหญ่ มีที่ราบสูงอยู่บางตอน ด้านเหนือของจังหวัดเป็นที่ราบลุ่มแม่น้ำไหลผ่าน
จังหวัดสุรินทร์มีลำน้ำธรรมชาติที่สำคัญ 8 สายดังนี้คือ แม่นำมูล ลำน้ำชี ห้วยเสนง ลำห้วยพลับพลา ลำห้วยระวี ลำห้วยทับทัน ลำห้วยระหารและลำห้วยแก้ว เป็นลำน้ำที่ทำประโยชน์ให้แก่จังหวัดสุรินทร์ นอกจาก 8 แห่งนี้แล้ว ยังมีลำน้ำและหนองนำอีกมากมายกระจัดกระจายอยู่ในอำเภอต่างๆแต่แหล่งน้ำต่างๆดังกล่าวไม่สามารถอำนวยประโยชน์ให้แก่เกษตรกรได้มากนัก ในฤดูแล้งส่วนใหญ่น้ำจะแห้ง เว้นแต่ลำน้ำมูลซึ่งมีน้ำไหลตลอดปี
จังหวัดสุรินทร์ มีพื้นที่ที่ได้รับการประกาศเป็นเขตป่าจำนวน 1,382,625 ไร่หรือคิดเป็นร้อยละ 27.23 ของพื้นที่จังหวัดไม่มีอุทยานแห่งชาติมีวนอุทยานจำนวน 2 แห่ง คือวนอุทยานพนมสวาย อำเภอเมืองสุรินทร์ เนื้อที่ 2,500 ไร่ และวนอุทยานป่าสนหนองคู อำเภอสังขะ เนื้อที่ 625 ไร่และมีเขตรักษาพันธ์สัตว์ป่า 1 แห่งคือเขตรักษาพันธ์สัตว์ป่าห้วยสำราญ - ห้วยทับทัน อยู่ในพื้นที่กิ่งอำเภอพนมดงรัก, อำเภอกาบเชิง, อำเภอสังขะ และอำเภอบัวเชด เนื้อที่ 313,750 ไร่

วันรํฐธรรมนูญ



ความสำคัญ

วันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2475 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 7 ได้เสด็จออกประทับพระที่นั่งพุดตานกาญจนสิงหาสน์ ภายใต้นพปฎลมหาเศวตฉัตร ณ พระที่นั่ง อนันตสมาคม ซึ่งโปรดเกล้าให้จัดเป็นที่ประชุมรัฐสภาได้ทรงพระปรมาภิไธยในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พระราชทานเป็นกฎหมายสูงสุดเพื่อเป็นหลักในการปกครองประเทศจึงได้ถือเป็นวันที่ระลึกสำคัญของชาติ เพื่อระลึกถึงวันที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 พระราชทาน รัฐธรรมนูญ "ฉบับแรกอันเป็นฉบับถาวร" ให้แก่ปวงชนชาวไทย เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2475 ซึ่งมีพระราชดำรัสในวันพระราชทานรัฐธรรมนูญดังนี้ "ข้าพเจ้ามีความเต็มใจที่จะสละอำนาจอันเป็นของข้าพเจ้าอยู่แต่เดิมให้แก่ราษฎรโดยทั่วไป แต่ข้าเจ้าไม่ยินยอมยกอำนาจทั้งหลายของข้าพเจ้าให้แก่ผู้ใด คณะใด โดยเฉพาะเพื่อใช้อำนาจนั้นโดยสิทธิขาด และโดยไม่ฟังเสียงอันแท้จริงของประชาราษฎร" ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครอง จากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ มาเป็นประชาธิปไตย โดยผู้ที่เปลี่ยนแปลงการปกครองในครั้งนั้นคือ คณะราษฎร์

รัฐธรรมนูญราชอาณาจักรไทย


ฉบับที่ 1 ธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยาม พุทธศักราช 2475
ฉบับที่ 2 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม พุทธศักราช 2475
ฉบับที่ 3 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2489
ฉบับที่ 4 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2490 (ฉบับชั่วคราว)
ฉบับที่ 5 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2492
ฉบับที่ 6 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2495
ฉบับที่ 7 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2502
ฉบับที่ 8 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2511
ฉบับที่ 9 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2515
ฉบับที่ 10 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2517
ฉบับที่ 11 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2519
ฉบับที่ 12 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2520
ฉบับที่ 13 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2521 (แก้ไขเพิ่มเติม พุทธศักราช2528)
ฉบับที่ 14 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2534
ฉบับที่ 15 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2534
ฉบับที่ 16 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540
ประกาศและบังคับใช้เมื่อวันที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2540 ถือได้ว่ารัฐธรรมนูญฉบับนี้เป็นรัฐธรรมนูญฉบับแรกที่ประชาชนมีส่วนร่วมในการร่างมากที่สุด

ความสำคัญของวันพ่อ

วันพ่อแห่งชาติ เป็นวันสำคัญสัมพันธ์กับวันแม่แห่งชาติ
วันพ่อแห่งชาติในประเทศไทยตรงกับวันที่ 5 ธันวาคมของทุกปี เป็นวันเฉลิมพระชนมพรรษา พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช โดยจัดติดต่อกันทุกปีตั้งแต่ พ.ศ. 2523 โดยการริเริ่มของ นายกสมาคมผู้อาสาสมัครและช่วยการศึกษา คุณหญิงเนื้อพิทย์ เสมรสุต สัญลักษณ์ที่ใช้ในวันพ่อได้แก่ ดอกพุทธรักษาซึ่งมีชื่ออันเป็นมงคล

วันพ่อแห่งชาติ มีขึ้นเป็นครั้งแรก เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม 2523 โดย คุณหญิงเนื้อทิพย์ เสมรสุต นายกสมาคมผู้อาสาสมัครและช่วยการศึกษาเป็นผู้ริเริ่ม ด้วยความจงรักภักดี และมีวัตถุประสงค์ เทิดพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในฐานะ “พ่อแห่งชาติ”
ซึ่งนอกจากพระองค์จะเป็นพระราชบิดาของพระราชโอรสและพระราชธิดา ทรงทะนุบำรุงพระราชโอรสธิดาด้วยความรัก และทรงอบรมอนุศาสน์ให้ทรงเจริญวัยสมบูรณ์ และทรงบำเพ็ญคุณานุประโยชน์แก่ประเทศชาติและประชาชน เจริญรอยตามเบื้องพระยุคลบาทแล้ว พระองค์ยังทรงพระมหากรุณาทะนุบำรุงจัดทุกข์ผดุงสุขพสกนิกรถ้วนหน้า พระองค์ทรงเป็น “พ่อแห่งชาติ” ที่อาณาประชาราษฎร์เทิดทูนด้วยความจงรักภักดี สำนักในพระมหากรุณาธิคุณ และยึดมั่นในการเจริญรอยตามเบื้องพระยุคลบาทในการทะนุบำรุงชาติบ้านเมืองให้วัฒนาถาวรสืบไป

วัตถุประสงค์ของการจัด วันพ่อแห่งชาติ ที่คณะผู้ริเริ่มกำหนดคือ
เพื่อเทิดทูนพระเกียรติคุณของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
เพื่อเทิดทูนพระคุณของพ่อ และยกย่องบทบาทของพ่อที่มีต่อครอบครัวและสังคม
เพื่อให้ลูกได้แสดงความกตัญญูกตเวทีต่อพ่อ
เพื่อให้ผู้เป็นพ่อ สำนึกในหน้าที่และความรับผิดชอบของตน

ความรู้สึกลึก ๆ
นึกหวนคืน วันผ่าน เนิ่นนานมา
พ่อคอยว่า อบรม บ่มนิสัย
คอยตักเตือน คอยว่ากล่าว เราเรื่อยไป
พ่อบอกไว้ เราต้อง เป็นคนดี
เมื่อก่อนนั้น ไม่เข้าใจ คำพ่อสอน
เราแสนงอน ชอกช้ำ ในใจนี้
พ่อทำไม ต้องมาว่า เราทั้งปี
พ่อคนนี้ ช่างบ่น เสียจริงๆ
จนวันนี้ ถึงได้ ให้ได้รู้
คำพ่อขู่ พ่อสอน นั้นทุกสิ่ง
ที่ว่ากล่าว มันเป็น แต่เรื่องจริง
ที่ใหญ่ยิ่ง ในชีวิต วันต่อมา
ทั้งชีวิต พ่อเหนื่อย มามากแล้ว
ขอลูกแก้ว ได้ตอบแทน บ้างเถอะหนา
จะชดเชย จะชดใช้ ตราบชีวา
ขอสัญญา จะทำ แต่ความดี...........รักพ่อ ที่สุดในโลกเลยยยยยยย

วันออกพรรษา




วันออกพรรษา ตรงกับวันขึ้น ๑๕ ค่ำกลางเดือน ๑๑ หรือในราวเดือนตุลาคม วันออกพรรษา เป็นวันสิ้นสุดการจำพรรษาของพระภิกษุสงฆ์ที่อยู่ร่วมกันในวัดที่ซึ่งอธิษฐานเข้าพรรษาตลอดระยะเวลา ๓ เดือน เมื่อทำพิธีออกพรรษาแล้ว พระภิกษุสงฆ์สามารถจาริกไปในสถานที่ต่างๆ เพื่อเผยแพร่พระธรรมคำสั่งสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้ตามความประสงค์โดยไม่จำเป็นต้องกลับมาค้างแรม ณ วัดที่ตนสังกัด ในระยะเวลาที่เข้าพรรษา

การประกอบพิธีในวันออกพรรษา
การประกอบพิธีในวันสำคัญนี้ เหล่าพุทธศาสนิกชนจะนิยมทำบุญกุศลเป็นกรณีพิเศษ เช่น ตักบาตรในตอนเช้า ถวายสังฆทาน ไปทำบุญที่วัด ถวายภัตตาหาร ฟังพระธรรมเทศนา และมีการตักบาตรเทโวในวันรุ่งขึ้น

ประเพณีเกี่ยวข้องกับวันออกพรรษา
ประเพณีเกี่ยวข้องกับวันออกพรรษา มีที่นิยมปฏิบัติอยู่ ๒ อย่าง คือ
๑. ประเพณีตักบาตรเทโว
๒. ประเพณีเทศน์มหาชาติ

ประเพณีการตักบาตรเทโว
การตักบาตรเทโว จะกระทำกันในวันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๑ คือหลังจากวันออกพรรษาแล้ว ๑ วัน
ประวัติความเป็นมาของประเพณีการตักบาตรเทโว
ในสมัยพุทธกาล เมื่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้ธรรม และเสด็จขึ้นไปโปรดพระพุทธมารดาโดยจำพรรษาอยู่ ณ สวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เป็นเวลา ๑ พรรษา และเมื่อออกพรรษาแล้วพระองค์ได้เสด็จกลับยังโลกมนุษย์ ณ เมืองสังกัสสคร การที่พระพุทธองค์เสด็จลงมาจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เรียกตามศัพท์ภาษาบาลีว่า "เทโวโรหณะ" ในครั้งนั้นบรรดาพุทธศาสนิกชนผู้มีความศรัทธาเลื่อมใส เมื่อทราบข่าวต่างพร้อมใจกันไปรอตักบาตรเพื่อรับเสด็จกันอย่างเนืองแน่น จนถือเป็นประเพณีตักบาตรเทโวปฏิบัติสืบทอดกันมาจนตราบเท่าทุกวันนี้

ประเพณีงานเทศน์มหาชาติ
งานเทศน์มหาชาตินี้ นิยมทำกันหลังออกพรรษาพ้นหน้ากฐินไปแล้ว อาจทำในวันขี้น ๘ ค่ำกลางเดือน ๑๒ หรือในวันแรม ๘ ค่ำก็ได้ ซึ่งในช่วงนี้น้ำเริ่มลดและข้าวปลาอาหารกำลังอุดมสมบูรณ์ จึงพร้อมใจกันทำบุญทำทานและเล่นสนุกสนานรื่นเริง แต่ในภาคอีสานนั้นนิยมทำกันในเดือน ๔ เรียกว่า "งานบุญพระเวส" ซึ่งเป็นช่วงที่เสร็จจากการทำบุญลานเอาข้าวเข้ายุ้ง ในภาคกลาง บางท้องถิ่นทำกันในเดือน ๕ ต่อเดือน ๖ ก็มี งานเทศน์มหาชาตินั้นจะทำในกาลพิเศษจะทำในเดือนไหนก็ได้ไม่จำกัดฤดูกาล โดยมากเพื่อเป็นการหาเงินเข้าวัด บางแห่งนิยมทำในเดือน ๑๐ การเทศน์มหาชาตินั้น มีอยู่ด้วยกันทั้งหมด ๑๓ กัณฑ์ เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับพระเวสสันดรอันเป็นพระชาติสุดท้ายของพระบรมโพธิสัตว์ ก่อนที่จะมาประสูติเป็นเจ้าชายสิทธัตถะและออกบวชจนตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

กิจกรรมต่างๆ ที่ควรปฏิบัติในวันออกพรรษา
๑. ทำบุญตักบาตร อุทิศส่วนกุศลให้แก่ญาติผู้ล่วงลับ
๒. ไปวัดเพื่อปฏิบัติธรรม ฟังพระธรรมเทศนา
๓. จัดนิทรรศการ กิจกรรมต่างๆ เพื่อเป็นการเผยแพร่เกี่ยวกับวันออกพรรษา
๔. ร่วมกุศลกรรม "ตักบาตรเทโว"
๕. ปัดกวาดบ้านเรือนให้สะอาด ประดับธงชาติ

ตามอาคารบ้านเรือนและสถานที่ราชการและประดับธงชาติและธงธรรมจักรตามวัดและสถานที่สำคัญทางพระพุทธศาสนา

ข้อควรปฏิบัติของชาวพุทธในวันพระและในวันสำคัญทางพุทธศาสนาต่างๆ
๑. ทำบุญตักบาตร ถือศีล ปฏิบัติธรรม ฟังพระธรรมเทศนา
๒. ปัดกวาดบ้านเรือนให้สะอาด งดการเที่ยวเตร่ ละเว้นอบายมุข ละเว้นการฆ่าสัตว์และบริโภคเนื้อสัตว์ในวันสำคัญทางพุทธศาสนา
๓. ศึกษาข้อธรรมคำสั่งสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
๔. ประกอบพิธีทางพระพุทธศาสนา

วันพุธที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2551

กลอนไทย
















คำสัญญา..ของฟ้าสีคราม

ใต้ฟ้าสีคราม
ยังมีแสง ตะวันงาม ในยามเช้า
เปรียบเป็นแสงทอง ส่องใจเรา
จะไม่รู้สึกเหงา หากเรา ยังเชื่อใจ
- - - -
ใต้ฟ้าสีคราม
ยังมีแสงจันทร์งาม ยามหลังใหล
ค่ำคืน มืดสนิท สักเพียงใด
เธอยังส่องสว่าง ในหัวใจ เสมอมา
- - - -

ใต้ฟ้าสีคราม
มองเห็น สายรุ้งงาม อยู่เบื้องหน้า
อธิษฐาน ผ่านสายรุ้ง จงอย่าลืม คำสัญญา
โปรดส่งเธอกลับคืนมา.....
ลบความเหว่ว้า...จากใจฉัน